ล้างพิษตับ บ้านรักสุขภาพสัตหีบ. ขับเคลื่อนโดย Blogger.
RSS

การป้องกันการเกิดนิ่วในตับและในถุงน้ำดี

การป้องกันการเกิดนิ่วในตับและในถุงน้ำดี
ตับ เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายของคนเรา หากตับทำงานเป็นปรกติแล้ว  ระบบภายในต่าง ๆ ก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นหากเราได้รู้จักวิธีป้องกัน ดูแลรักษา ฟื้นฟู อวัยวะตับของเราแล้ว ร่างกายของเราก็จะมีสภาพที่สมบูรณ์ปราศจากโรคภัยเบียดเบียนอันเป็นสุดยอดความปราถนาของมนุษย์ปุถุชนทุกผู้ทุกนามก็ว่าได้  เพราะฉะนั้นเราจะมีวิธีป้องกันการเกิดนิ่วในตับและในถุงน้ำดีได้อย่างไร

1. ล้างพิษตับทุกปี อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หมายความว่า ในช่วงแรกได้ผ่านการล้างพิษอย่างต่อเนื่องไปแล้ว คือ ประมาณ 1 - 3 เดือนต่อครั้ง  จนลำไส้ท่อน้ำดีและตับสะอาด (ประมาณ 3-4 ครั้ง) โดยสังเกตุจากอุจจาระที่ถ่ายออกมาแต่ละครั้งจะมีกลิ่น สี ก้อนนิ่วสะอาดขึ้น ในการล้างพิษแต่ละครั้ง ร่างกายจะทำความสะอาดได้ลึกขึ้น และสารพิษจะออกมามากขึ้น หลังจากนั้นการดูแลร่างกายด้วยการล้างพิษควรทำทุก 2 ครั้งต่อปี เป็นอย่างน้อย
     หมายเหตุ :  ผู้ใดทำบ่อยกว่านั้นก็ไม่มีโทษแต่อยางใด เพียงแต่ให้ประมาณความพอดี ไม่ให้ร่างกายเหนื่อยล้า หรือหมดแรง 

2. การสวนล้างลำไส้ด้วยกาแฟหรือน้ำสมุนไพร อย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง เพื่อเป็นการทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ และกระตุ้นการทำงานของตับ

3. รักษาลำไส้ให้สะอาด เพราะลำไส้ที่สกปรกจะเป็นอาหารชั้นดีของแบคทีเรียตัวร้ายที่อาศัยอยู่ในลำไส้ ซึ่งจะสร้างสารพิษ เมื่อลำไส้ดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะดูดซึมสารพิษเหล่านั้นเข้าไปในกระแสเลือด พิษดังกล่าวจะถูกลำเลียงไปทำลายที่เซลล์ตับ ทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมสภาพมีผลต่อการลดการหลั่งของน้ำดี เกิดการคั่งของน้ำดีและทำให้เกิดนิ่ว กระบวนการรักษาลำไส้ในสะอาดมีหลายวิธี ดังนี้

  • กินอาหารที่มีเส้นใยสูง ปกติคนเราต้องการเส้นใยวันละ 25 กรัมเพื่อให้การขับถ่ายเป็นไปโดยสะดวก อาหารที่มีเส้นใยสูงได้แ่ก่ ข้าวกล้อง ผักทุกชนิด และผลไม้      
หมายเหต: สมุนไพรที่มีเส้นใยสูงได้แ่ก่ ลูกสำรอง เม็ดแมงลัก ซีเลียม เป็นต้น รับประทานได้ทุกวัน วันละ 2 เวลา คือ เช้าและเย็น เป็นการเพิ่มเส้นใยอาหารเพื่อช่วยในการขับถ่ายได้สะดวก

4. ไม่กินอาหารขยะ คือ อาหารที่ให้ประโยชน์ทางโภชนาการน้อย ส่วนใหญ่ประกอบด้วยสารอาหารที่ให้พลังงานเป็นส่วนใหญ่ เช่น น้ำตาล ไขมัน แป้ง และมีส่วนประกอบเป็นโปรตีน วิตามิน เกลือแร่น้อยมาก มักจะเป็นอาหารทอดใส่เกลือ ทำให้มีรสเค็ม ๆ มัน ๆ กินไม่รู้จักอิ่ม และอยากกินอยู่เรื่อย ๆ เมื่อกินเกลือเข้าไปมาก ๆ ก็ทำให้ความดันโลหิตสูงตามมา และรู้สึกกระหายน้ำ

5. ไม่นอนดึก ควรนอนแต่หัวค่ำ และตื่นเช้า เพราะการนอนดึกส่งผลเสียต่อระบบการย่อยอาหาร ทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ไตทำงานหนัก ระบบทำงานของร่างกายแปรปรวน

6. ไม่เครียด ควรฝึกทำสมาธิ สวดมนต์ไหว้พระ ปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสติ ถือเป็นการล้างพิษทางจิตใจที่สำคัญ ทำให้ใจสงบเยือกเย็นและจิตมีความนิ่งไม่กระสับกระส่ายไปมา

7. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เบียร์ ต่าง ๆ เป็นต้น เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นต้นเหตุของโรคหลายอย่างด้วยกัน และทำให้ขาดสติอีกด้วย

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น